การป้องกันอาชญากรรม
โดยอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ตำรวจบ้าน
ในยุคปัจจุบัน สังคมที่มีประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันนั้น ย่อมมีปัญหาอาชญากรรมเกิดขึ้น ทำให้บั่นทอนการพัฒนาด้านต่างๆของประเทศ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวย่อมจะอาศัยเพียงตำรวจอย่างเดียวไม่ได้ การแสวงหาความร่วมมือจากชุมชน ด้วยการร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ แก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชนตนเอง มีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการ องค์กรต่างๆเป็นเครือข่ายอย่างจริงจัง บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้านในการป้องกันอาชญากรรม จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างความสงบสุขให้แก่บ้านเมือง ซึ่งจำเป็นต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาและสร้างชุมชนให้เข็มแข็งและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม โดยที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดเป้าหมายโดยชัดเจนที่จะลดปัญหาอาชญากรรม ดังนั้นองค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้านในการป้องกันอาชญากรรม จึงเป็นสิ่งที่ข้าราชการตำรวจควรให้ความสำคัญ ผู้เขียนจึงมีความสนใจในการศึกษารวบรวมบทความในเรื่องดังกล่าวมาเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อกิจการของตำรวจ
พ.ต.อ.ชวลัต เปล่งเสียง ผกก.สภ.เมืองพัทลุง ประชุมให้แนวทางการปฏิบัติงาน การป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ให้กับข้าราชการตำรวจ และอาสาสมัครรักษาความสงบหมู่บ้าน ตำรวจชุมชนในพื้นที่ ก่อนออกปฏิบัติงานระดมกวาดล้างอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบ
การมีส่วนร่วมอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้านในการป้องกันอาชญากรรม
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์ มีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาในทุกๆด้าน แต่ในทางกลับกันก็ทำให้มีปัญหาสังคมต่างๆตามมา ปัญหาอาชญากรรมทวีความรุนแรงและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ตำรวจซึ่งนอกจากจะมีภารกิจหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนแล้วในปัจจุบันยังต้องให้บริการประชาชนในทุกๆด้าน หน้าที่และความรับผิดชอบของตำรวจในสังคมปัจจุบันจึงมีขอบเขตกว้างมาก จนมีผู้กล่าวกันว่า ตำรวจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมแทบทุกอย่างในสังคมไม่ว่าจะเป็นส่วนเกี่ยวกับอาชญากรรมและไม่เกี่ยวกับอาชญากรรม เพื่อกำหนดให้การดำเนินชีวิตของบุคคลเป็นไปตามกฎระเบียบสังคมเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม
หน้าที่และภารกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าการรักษาความสงบเรียบร้อย การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การให้ความคุ้มครองป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของชาตินั้น หากตำรวจจะต้องปฏิบัติงานโดยลำพังแล้ว ย่อมจะทำให้ประสบผลสำเร็จได้น้อยมาก โดยเฉพาะในเรื่องปัญหาอาชญากรรมซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ ในการกำหนดมาตรการ หรือแนวทางการแก้ไขให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ฉะนั้นงานตำรวจซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือสนับสนุนระหว่างตำรวจกับประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่งทั้งในแง่ “ปรากฏการณ์ทางสังคม” อาชญากรรมได้ส่งผลกระทบต่อความผาสุกและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน อีกทั้งปัจจัยอาชญากรรมส่วนหนึ่งมีบ่อเกิดจากความเสื่อมโทรมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำรงรักษาไว้ซึ่งความผาสุกปลอดภัยในสังคมหนึ่งนั้น ย่อมเป็นภาระหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในสังคม มิได้จำกัดขอบเขตเฉพาะตำรวจ หรือหน่วยงานในกระบวนงานในกระบวนการยุติธรรมใด ๆ ซึ่งเป็นเพียงระบบย่อยส่วนหนึ่งในสังคมส่วนรวมเท่านั้น ส่วนในแง่ของ “กระบวนการปฏิบัติ” เป็นที่ยอมรับกันว่าในการพยายามสืบสวนติดตามจับกุมหรือแสวงหาข้อเท็จจริงแห่งคดี ถ้าปราศจากความยินยอม หรือได้รับความร่วมมืออย่างแท้จริง จากประชาชนแล้ว ประสิทธิผลในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมย่อมจะลดน้อยลงไป ยิ่งไปกว่านั้นถึงแม้จะมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้รับการอบรมฝึกฝนเป็นอย่างดี และเพียบพร้อมบริบูรณ์ไปด้วยปัจจัยการปฏิบัติเพียงใดก็ตาม การรณรงค์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ก็อาจประสบความล้มเหลวลงไปได้อย่างเสียดายถ้าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับตำรวจ
หน้าที่และภารกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าการรักษาความสงบเรียบร้อย การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การให้ความคุ้มครองป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของชาตินั้น หากตำรวจจะต้องปฏิบัติงานโดยลำพังแล้ว ย่อมจะทำให้ประสบผลสำเร็จได้น้อยมาก โดยเฉพาะในเรื่องปัญหาอาชญากรรมซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานที่ทุกคนในสังคมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ ในการกำหนดมาตรการ หรือแนวทางการแก้ไขให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ฉะนั้นงานตำรวจซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือสนับสนุนระหว่างตำรวจกับประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม จึงมีความสำคัญ อย่างยิ่งทั้งในแง่ “ปรากฏการณ์ทางสังคม” อาชญากรรมได้ส่งผลกระทบต่อความผาสุกและความปลอดภัยในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน อีกทั้งปัจจัยอาชญากรรมส่วนหนึ่งมีบ่อเกิดจากความเสื่อมโทรมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำรงรักษาไว้ซึ่งความผาสุกปลอดภัยในสังคมหนึ่งนั้น ย่อมเป็นภาระหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในสังคม มิได้จำกัดขอบเขตเฉพาะตำรวจ หรือหน่วยงานในกระบวนงานในกระบวนการยุติธรรมใด ๆ ซึ่งเป็นเพียงระบบย่อยส่วนหนึ่งในสังคมส่วนรวมเท่านั้น ส่วนในแง่ของ “กระบวนการปฏิบัติ” เป็นที่ยอมรับกันว่าในการพยายามสืบสวนติดตามจับกุมหรือแสวงหาข้อเท็จจริงแห่งคดี ถ้าปราศจากความยินยอม หรือได้รับความร่วมมืออย่างแท้จริง จากประชาชนแล้ว ประสิทธิผลในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมย่อมจะลดน้อยลงไป ยิ่งไปกว่านั้นถึงแม้จะมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้รับการอบรมฝึกฝนเป็นอย่างดี และเพียบพร้อมบริบูรณ์ไปด้วยปัจจัยการปฏิบัติเพียงใดก็ตาม การรณรงค์ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ก็อาจประสบความล้มเหลวลงไปได้อย่างเสียดายถ้าประชาชนไม่ให้ความร่วมมือกับตำรวจ
พ.ต.อ.ชวลัต เปล่งเสียง ผกก.สภ.เมืองพัทลุง ประชุมให้แนวทางการปฏิบัติงาน การป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ให้กับข้าราชการตำรวจ และอาสาสมัครรักษาความสงบหมู่บ้าน ตำรวจชุมชนในพื้นที่ ก่อนออกปฏิบัติงานระดมกวาดล้างอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบ
ดังนั้น ความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างตำรวจกับประชาชน ซึ่งได้แก่การแสดงออกซึ่งท่าที ทัศนคติสนองตอบระหว่างตำรวจกับประชาชน ในฐานะที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นผู้มีส่วนในการ แก้ไขปัญหาอาชญากรรม และปัญหาอื่นของสังคมร่วมกัน จึงเป็นสิ่งที่ตำรวจจะต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงความจำเป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ จะเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการรักษาความสงบสุขของสังคม ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของตำรวจที่จะต้องแสวงหาวิธีการ หรือมาตรการอันเหมาะสมที่จะสร้างความสัมพันธ์ร่วมมืออันดีกับประชาชนตลอดจนรักษาความสัมพันธ์ที่ดีนั้นไว้ให้ยืนยาวตลอดไป
พ.ต.อ.ชวลัต เปล่งเสียง ผกก.สภ.เมืองพัทลุง ประชุมให้แนวทางการปฏิบัติงาน การป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ให้กับข้าราชการตำรวจ และอาสาสมัครรักษาความสงบหมู่บ้าน ตำรวจชุมชนในพื้นที่ ก่อนออกปฏิบัติงานระดมกวาดล้างอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบ
งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในหน้าที่ของตำรวจ เป็นการนำเอาหลักปรัชญาที่ว่า “ตำรวจ”คือประชาชนและประชาชนคือ“ตำรวจ”มาใช้ปฏิบัติ
จากการใช้ยุทธวิธีตำรวจแบบจารีตประเพณีดังกล่าว ปรากฏว่า การป้องกันปราบปราม อาชญากรรม และได้พยายามช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้ตระหนักถึงปัญหาและความเห็นสำคัญของประชาชนที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับตำรวจ ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอันเป็นปัญหาส่วนรวมของสังคมจึงได้เปลี่ยนทิศทางในการดำเนินงาน โดยหันมาให้ความสำคัญต่องานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเข้าใจปัญหาของตำรวจสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนรับรู้และเข้าใจปัญหาของตำรวจมีสัมพันธภาพอันดีกับตำรวจ และเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมมากยิ่งขึ้นทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในชุมชน
จากการใช้ยุทธวิธีตำรวจแบบจารีตประเพณีดังกล่าว ปรากฏว่า การป้องกันปราบปราม อาชญากรรม และได้พยายามช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้ตระหนักถึงปัญหาและความเห็นสำคัญของประชาชนที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมกับตำรวจ ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมอันเป็นปัญหาส่วนรวมของสังคมจึงได้เปลี่ยนทิศทางในการดำเนินงาน โดยหันมาให้ความสำคัญต่องานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเข้าใจปัญหาของตำรวจสัมพันธ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนรับรู้และเข้าใจปัญหาของตำรวจมีสัมพันธภาพอันดีกับตำรวจ และเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมมากยิ่งขึ้นทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสุดท้ายเพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในชุมชน
พ.ต.อ.ชวลัต เปล่งเสียง ผกก.สภ.เมืองพัทลุง ประชุมให้แนวทางการปฏิบัติงาน การป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ให้กับข้าราชการตำรวจ และอาสาสมัครรักษาความสงบหมู่บ้าน ตำรวจชุมชนในพื้นที่ ก่อนออกปฏิบัติงานระดมกวาดล้างอาชญากรรมในพื้นที่รับผิดชอบ
ดังนั้นหลักการที่สำคัญของงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ คือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่างประชาชนกับตำรวจ ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความเรียบร้อยของสังคม อย่างไรก็ดียังมีความสับสนด้านแนวความคิดและหลักการเกี่ยวกับงานชุมชนสัมพันธ์อยู่บ้างในหมู่ตำรวจโดยบางคนยังคิดว่างานตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจ กับประชาชนกลุ่มน้อยบางคนมองว่างานตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นสิ่งเดียวกับการประชาสัมพันธ์ บางคนมองว่างานตำรวจชุมชนสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของการบริการประชาชนเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว งานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เป็นการดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อให้ตำรวจมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับชุมชนมีความเข้าใจในปัญหาซึ่งกันและกัน ตลอดจนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยเครือข่ายของอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน (อรปม.) หรือตำรวจบ้านนั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น